ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมด้วยนางวราภรณ์ เสริมภักดีกุล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเลย/ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเลยและนายกิตติคุณ บุตรคุณ ปลัดจังหวัดเลย ได้ออกพบปะตรวจเยี่ยมและมอบแนวทางการปฏิบัติราชการ ให้หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้แทนภาคีเครือข่าย ในพื้นที่อำเภอหนองหิน ที่หอประชุมอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย โดยมีแนวทางการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1. การปกป้องสถาบันของชาติและการสร้างความรักความสามัคคี โดยราจะต้องตระหนักถึงความรักชาติและความสามัคคี การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการนี้ให้ใช้ศูนย์จิตอาสาระดับอำเภอ เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปี และในโอกาสวันสำคัญของชาติ เช่น วันที่ 5 ธันวาคม ก็จะจัดกิจกรรมเนื่องในวัน เฉลิมพระชนมพรรษา รัชกาลที่ 9 หรือวันดินโลก และการพัฒนาแหล่งน้ำ ให้ใช้กิจกรรมจิตอาสาเพื่อสร้างความรักความสามัคคี เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. การขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฝากนายอำเภอดูว่าในอำเภอมีโครงการพระราชดำริหรือไม่ ถ้ามีก็ให้ดำเนินการต่อยอด และขับเคลื่อนให้ต่อเนื่อง และให้น้อมนำไปปฏิบัติต่อยอดโครงการโดยให้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในพื้นที่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีคามตระหนัก อดทน การอดออม โดยนำแนวทางโครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเองให้มีความมั่นคงทางอาหาร
3. การแก้ไขปัญหาความยากจนถือว่าเป็นนโยบายรัฐบาล โดยได้กำหนดให้ดำเนินการ 5 ด้าน ดังนี้
3.1 มิติด้านสุขภาพ ดูว่าครัวเรือนมีปัญหาอะไรบ้าง และจะแก้ไข ส่งเสริมใช้สุขภาพดีขึ้นได้
3.2 มิติด้านการศึกษา ให้ดูว่ามีเด็กในพื้นที่ได้รับการศึกษา ความรู้ และอย่าให้เด็กหลุดจากการศึกษา
3.3 มิติเรื่องที่อยู่อาศัย ให้ดูว่าชาวบ้านมีที่อยู่อาศัยและสภาพบ้านมีความมั่นคงถาวร หรือไม่ ฝาก อปท. /ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ถ้ามีอะไรพอช่วยเหลือได้ก็ช่วยเหลือเบื้องต้นไป
3.4 มิติด้านอาชีพ เข้าไปดูเรื่องการฝึกอาชีพ เพื่อให้มีความมั่นคงในชีวิต
3.5 มิติการเข้าถึงการบริการของรัฐ ในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่ไหมที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ยังไม่เข้าถึง การบริการสาธารณสุข การรับสวัสดิการต่างๆ
ให้เราใช้ข้อมูลที่มีไว้ที่อำเภอ เข้าไปแก้ไขปัญหาและขอให้ทุกภาคส่วนใช้เป้าหมายฐานเดียวกัน และ การช่วยเหลือชาวบ้าน และไม่ควรจะแยกส่วนให้บูรณาการร่วมกัน กับภาคีเครือข่ายเพื่อดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากจังหวัดเลยติดพื้นที่ชายแดน ยาเสพติดเข้ามาในตะเข็บชายแดน จังหวัดเลยเยอะ ภาพรวมมีคนเสพ 4,000 ราย ผู้ค้า 500 ราย จะทำอย่างไรให้ยอดลดลงที่สำคัญคือไม่ให้ยอดเพิ่ม สิ่โดยหมู่บ้านจะต้องมีความเข้มแข็ง และจะต้องแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ เราจะต้องเริ่มและแก้ไขปัญหาร่วมกันบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ทำให้หมู่บ้าน ชุมชน มีความเข้มแข็ง เป็นหมู่บ้าน/ชุมชน และหมู่บ้านต้องมีธรรมนูญหมู่บ้าน กฎระเบียบแบบแผน และการที่จะทำอย่างไรไม่ให้เด็ก เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และผู้เสพจะต้องเข้าสู่กระบวนการบำบัด และฟื้นฟูทางสังคม โดยใช้ทีม 5 เสือ เข้าไปร่วมบูรณาการ
5. การดูและสิ่งแวดล้อม การเผาอ้อยงดการเผา ภายใน 3 ปี ให้เป็นวาระจังหวัด ร่วมกับชมรมชาวไร่อ้อยและชมรมต่างๆ เพื่อรณรงค์ลดการเผาอ้อย การใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว วิธีการคือ การรณรงค์ไม่ให้เผา แนวทางการขับเคลื่อนให้ลดการเผาอ้อยอย่างต่อเนื่อง เราต้องช่วยกันเพื่อบูรณาการในพื้นที่
6. การรักษาความสะอาด การคัดแยกขยะ การจัดทำถังขยะเปียก เพื่อเป็นการคัดแยกขยะต้นทาง (เศษอาหาร ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล) ขยะที่คัดแยกทาง อปท. ก็จะได้นำไปจัดการการคัดแยกขยะ โดย คือ จะนำไปทิ้งที่บ่อขยะ ขอให้ไปส่งเสริมให้ชาวบ้าน /ครัวเรือน ดำเนินการบริหารจัดการคัดแยกขยะในครัวเรือน และ ทำการปลูกฝัง เด็ก นักเรียน ในโรงเรียนทำการคัดแยกขยะ ทำให้ลดภาระในชุมชน
7. การพัฒนาแหล่งน้ำ อุปโภคบริโภค
การทำธนาคารน้ำใต้ดิน การหาแหล่งน้ำที่มีการกักเก็บน้ำใต้ดิน ขอให้ไปวางแผนเพื่อรับมือในช่วงภัยแล้ง การพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่เพื่อให้เป็นพื้นที่เฉลิมพระเกียรติ
ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเลย/นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเลย ฝากประชาสัมพันธ์ 5 เรื่องดังนี้
1. รณรงค์ผ้าไทยใส่ให้สนุก การประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ทุกภาคส่วนสวมใส่ผ้าไทย และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนอาชีพให้กับกลุ่มแม่บ้านในพื้นที่
2. ความมั่นคงทางอาหาร บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง/ที่ว่างสร้างอาหาร การปลูกผักสวนครัวไว้รับประทาน ในครัวเรือน หากเหลือก็แจกจ่ายเพื่อบ้านเพื่อสร้างความรักความสามัคคี เพิ่มรายได้
3. ศูนย์เด็กเล็กให้ดูเรื่องความปลอดภัย การติดตั้งกล้อง CCTV ติดที่ศูนย์เด็กเล็ก การดูแลเด็กให้มีจิตใจที่ดี 1) สติปัญญา 2) ร่างกาย 3) อารมณ์ 4) สังคม
4. การให้คำแนะนำดูแลหลังตั้งครรภ์ให้ได้รับยาและอาหารครบถ้วน การไปพบแพทย์ตามกำหนด ให้เด็กเกิดมาครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อไม่ให้เกิดความพิการ
5. ฝากเรื่องเหตุเพลิงไหม้ เช่น ที่บ้านสามแยก ทำให้คนเสียชีวิต และที่โคกขมึ้นมีเหตุเพลิงไหม้ ฝากดูแลเรื่องสายไฟ ให้นายกฯ เข้าไปดูแลช่วยเหลือ