อีเมล์/เลขบัตรประชาชน :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
ผีตาโขน
10.55
ผีตาโขน
สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยครับ ถามผีตาโขนมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้นะครับ
10.55
ข่าวประชาสัมพันธ์
จังหวัดเลย ติดตามเร่งรัดป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดระยะเร่งด่วน 3 เดือน ในพื้นที่อำเภอเมืองเลย
21 สิงหาคม 2567

วันที่ 13 สิงหาคม 2567 ที่หอประชุมอำเภอเมืองเลย นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเลย ลงพื้นที่อำเภอเมืองเลย เพื่อติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสติดระยะเร่งด่วน 3 เดือน (1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2567) จังหวัดเลย ซึ่งเป็นการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ตามแผนปฏิบัติการฯ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและบรรลุตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดให้ได้ ภายใต้ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเลย โดยมี นายสามารถ หมั่นนอก ปลัดจังหวัดเลย พล.ต.ต.พงพิพัฒน์ ศิริพรวิวัฒน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย นายพยุง เหล็กดี นายอำเภอเมืองเลย หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเลยพิทยาคม ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงาน จังหวัดเลยได้ดำเนินการมาแล้ว 4 อำเภอได้แก่อำเภอปากชม อำเภอวังสะพุง อำเภอภูหลวง และอำเภอนาด้วง

การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอเมืองเลย ตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ระยะเร่งด่วน 3 เดือน โดยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งตำรวจ สาธารณสุข โรงพยาบาลในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่และหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามเป้าหมายที่จังหวัดเลยและรัฐบาลกำหนด โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ในการร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ว่าจะเป็นด้านการปราบปราม การบำบัดรักษา การดูแลผู้มีอาการทางจิตจากการใช้ยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษา โดยในห้วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม มีผลการดำเนินงาน

ด้านการปราบปราม สามารถดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดในข้อหาความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งสิ้น 64 คดี คดีสมคบสนับสนุน 2 คดี และทำการยึดทรัพย์ได้ทั้งสิ้น จำนวน 360,440 บาท

ด้านการบำบัดรักษา นำผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดในสถานพยาบาลทั้งสิ้น 168 ราย และนำผู้เสพยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเข้ารับการบำบัดรักษา ทั้งสิ้น จำนวน 182 ราย รวมทั้งการบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดการและดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษาจากโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์

ด้านการป้องกัน บูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่ทั้งสถานบริการ /สถานบันเทิง สถานประกอบการคล้ายสถานบริการและสถานที่เสี่ยงรอบสถานสถานศึกษา โดยออกตรวจตราเป็นประจำโดยชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมในหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมสร้างความร่วมมือในการป้องกันยาเสพติด พร้อมทั้งจัดตั้งหมู่บ้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกองทุนแม่ของแผ่นดินตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยครบทุกหมู่บ้าน มีประชาสัมพันธ์ขยายเครือข่ายสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา สถานประกอบการและชุมชนครอบคุมทุกแห่ง และมีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม สาขาอำเภอเมืองเลยและสาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองเลย ครบทุกแห่ง ให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด รวมทั้งมีการติดตาม ดูแลให้คำปรึกษา แนะนำให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผ่านการบำบัด อย่างต่อเนื่อง อำเภอเมืองเลยแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดอย่างสันติวิธี โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้หลักสันติวิธีตามแนวคิด 5 ช (ชี้ เชิญ ชวน ช่วย ชู) ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจอย่างง่ายภายใต้แนวคิด 5 ช ชี้ เป็นขั้นตอนของการเตรียมชุมชน โดยวิทยากรหรือบุคลากรทางสาธารณสุข ต้องให้ความรู้กับสมาชิกประชาคมหรือครัวเรือนให้เข้าใจถึงโทษภัยยาเสพติด ที่มีผลต่อสุขภาพซึ่งรุนแรงกว่าด้านอื่น ๆ เชิญ เป็นขั้นตอนที่ให้โอกาสบุคคลที่น่าห่วงใยเข้าถึงสถานพยาบาลของรัฐโดยการออกหนังสือเชิญให้มาตรวจสุขภาพเบื้องต้น ชวน ตรวจประเมินสุขภาพ ให้คำแนะนำ และชวนเข้าสู่กระบวนการรักษาฟื้นฟู ช่วย ในระหว่างการรักษา ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานราชการ เอกชน เข้ามามีส่วนร่วมประคับประคองให้การรักษาและฟื้นฟูให้ประสบผลสำเร็จ ชู คืนคนดีที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูแล้วสู่สังคม โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านร่างกาย และจิตใจ สร้างความเชื่อมันให้กับสมาชิกชุมชน โดยนำร่องโครงการที่บ้านโป่งเบี้ย หมู่ที่ 3 ตำบลน้ำหมาน อำเภอเมืองเลย การดำเนินการซึ่งเริ่มกระบวนการ โดยการประชาคมหมู่บ้าน สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งได้กลุ่มเป้าหมายจากการประชาคม จำนวน 19 คน ช่วงอายุ 16 – 48 ปี โดยทั้งหมดยินยอมพร้อมใจ เข้ารับการรักษาด้วยกระบวนการการบำบัดและฟื้นฟู ณ สถานที่วัดบ้านโป่งเบี้ย ทุกวันศุกร์ สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เวลา 14.00 น. – 16.00 น. เป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากผู้เข้ารับการรักษาสะดวกใจที่จะเข้ารับการบำบัดภายในหมู่บ้านใช้เวลาไม่นาน ไม่กระทบกับรายได้และการดูแลครอบครัว ในระหว่างกิจกรรมผู้เข้ารับการบำบัดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ตลอดหลักสูตรมีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติด ปรับทัศนคติ รวมทั้งฝึกอาชีพให้ผู้บำบัด ความสำเร็จในการดำเนินการเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชุมชนกับส่วนราชการในพื้นที่จนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแนวคิด ของผู้เข้ารับการบำบัด ชุมชนแสดงออกต่อผู้บำบัดเชิงให้กำลังใจ ให้ความสำคัญ โดยให้มีส่วนร่วม มีบทบาทในหมู่บ้าน สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

ภาพ/ข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย

ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ